มาดูว่าเรากำลังช่วยพัฒนาเรือบรรทุกรถยนต์ในมหาสมุทรที่ใช้พลังงานลมลำแรกของโลกอย่างไร
ลองนึกภาพว่ารถยนต์ไฟฟ้าในอนาคตของ Volvo นับพันคันกำลังแล่นข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกด้วยพลังงานลมที่ยั่งยืน
ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ความมั่งคั่งของการค้าโลกอยู่ที่เรือบรรทุกสินค้าซึ่งมีเสากระโดงสูง ล่องลอยไปตามกระแสลมเพื่อเชื่อมต่อทวีปต่างๆ และสร้างโลกใหม่ หลายศตวรรษต่อมา เราก็วนกลับมาอยู่ในสถานการณ์เดิม ด้วยความต้องการพลังงานที่ยั่งยืนทำให้เรากลับมาใช้เชื้อเพลิงที่มีอยู่ทั่วไปทุกหนทุกแห่งในธรรมชาติอีกครั้ง นั่นก็คือลม
ทุกวันนี้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่จึงได้เห็น Volvo Cars เป็น 1 ใน 11 พันธมิตรที่ร่วมมือกันพัฒนา Orcelle Wind ซึ่งเป็นเรือขนส่งรถยนต์และรถบรรทุกชนิดขนลงหรือขึ้นด้วยสายพาน (RoRo) ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานลมในทะเลลึกลำแรกของโลก เรือประเภทนี้ได้รับการออกแบบสำหรับการขนส่งรถยนต์และรถบรรทุกข้ามทะเลระหว่างประเทศ ตัวอย่างเช่น จากยุโรปไปยังสหรัฐอเมริกา
ลองนึกภาพว่ารถยนต์ไฟฟ้าในอนาคตของ Volvo นับพันคัน กำลังแล่นข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกด้วยพลังงานลมที่ยั่งยืน สิ่งนี้มีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากการขนส่งทางทะเลในปัจจุบันต้องพึ่งพาพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเพียงอย่างเดียว โดยเรือบางลำใช้น้ำมันดีเซลหลายพันลิตรต่อชั่วโมง และการปล่อย CO2 ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งยานพาหนะของเรา ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งในการปล่อยมลพิษตลอดอายุการใช้งานของรถยนต์แต่ละคัน ดังนั้น หากเราต้องการบรรลุความทะเยอทะยานในการเป็นบริษัทที่เป็นกลางต่อสภาพภูมิอากาศให้ได้ภายในปี พ.ศ.2583 ทุกปัจจัยที่เกี่ยวข้องล้วนมีความสำคัญ
“โครงการ Orcelle เป็นก้าวสำคัญสำหรับการเปลี่ยนแปลงในวงกว้างในการเปลี่ยนมาใช้ลมเป็นแรงขับหลัก” ดร. Anna Karamigkou เจ้าหน้าที่โครงการจากคณะกรรมาธิการยุโรปกล่าว
Wallenius Wilhelmsen บริษัทขนส่ง RoRo ระดับโลกจากนอร์เวย์ เป็นผู้ประสานงานโครงการ และมีความใฝ่ฝันที่จะให้ Orcelle Wind เริ่มเดินเรือให้ได้ในปลายปี พ.ศ.2569 หรือต้นปี พ.ศ.2570 Orcelle Wind เป็นเรือลำแรกจากสิ่งที่เรียกว่าแนวคิด Oceanbird สำหรับเรือที่ใช้พลังงานลมเป็นหลัก แนวคิดนี้แสดงให้เห็นว่า ในทางทฤษฎีแล้วสามารถลดการปล่อยมลพิษจากเรือได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ หากปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปล่อยมลพิษทั้งหมดสอดคล้องกัน
Wallenius Wilhelmsen และพันธมิตรของโครงการ รวมถึง Volvo Cars ได้รับเงินทุนจาก Horizon Europe เป็นจำนวนเงินรวม 9 ล้านยูโร เพื่อสนับสนุนการสร้างเรือใบแบบ RoRo Horizon Europe เป็นโครงการระดมทุนหลักของสหภาพยุโรปเพื่อการวิจัยและนวัตกรรม ในอีก 5 ปีข้างหน้า เรือ Orcelle Wind จะกลายเป็นจริงผ่านทางการวางแผน การสร้าง และการดำเนินการของเรือพลังงานลม
Orcelle Wind จะมีความยาว 220 เมตร และบรรทุกรถยนต์ได้มากกว่า 7,000 คัน รวมทั้งยังสามารถขนอุปกรณ์เทกองและอุปกรณ์การกลิ้งได้อีกด้วย
Roger Strevens รองประธานฝ่ายความยั่งยืนระดับโลกของ Wallenius Wilhelmsen กล่าวว่า "การระดมทุนของ Horizon Europe EU แสดงให้เห็นว่า แนวคิดนี้สามารถยืนหยัดต่อการตรวจสอบของหน่วยงานด้านเงินทุนของ EU และพวกเขามีความมั่นใจที่จะให้การสนับสนุนแนวคิดนี้"
บทบาทของเราในฐานะพันธมิตรก็คือการให้มุมมองในฐานะผู้ใช้ เราจะสำรวจความต้องการของเราสำหรับเรือที่จะขนส่งรถยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบของเรา และจะมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์การออกแบบห่วงโซ่อุปทาน และเราก็มีคำถามในส่วนของตัวเองที่จะต้องตอบก็คือ เราจะวางแผนขั้นตอนจากการสั่งซื้อสู่การจัดจำหน่ายของเราอย่างไร หากเราต้องเพิ่มเวลาสำหรับการขนส่งทางทะเลที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานลม โดยที่ในขณะเดียวกันก็ต้องมั่นใจว่า เราสามารถทำตามความคาดหวังของลูกค้าได้
เงินช่วยเหลือของสหภาพยุโรปถูกแบ่งกันระหว่างพันธมิตรทั้ง 11 ราย ดังนั้น เราทุกคนจึงสามารถนำมุมมองที่แตกต่างกันมาพูดคุยร่วมกันได้ โดยหวังว่าจะสร้างมุมมองแบบ 360 องศาเกี่ยวกับการขับเคลื่อนด้วยลม หัวข้อต่างๆ ได้แก่ การกำหนดเส้นทางสภาพอากาศ การออกแบบเรือ การประสานห่วงโซ่อุปทาน การฝึกลูกเรือ รวมถึงการติดตั้งแท่นทดสอบบนเรือที่มีอยู่ ขอบเขตของโครงการคือการทำให้ Orcelle Wind พร้อมสำหรับการค้าขายเชิงพาณิชย์
โครงการของสหภาพยุโรปยังรวมถึงการลงทุนที่จำเป็นสำหรับการสาธิตเต็มรูปแบบ และการเก็บข้อมูลด้วยแบบจำลองขั้นสูง รวมถึงเครื่องมือสำหรับเรือที่ขับเคลื่อนด้วยปีก นอกเหนือจากเรือสาธิตแล้ว พันธมิตรจะใช้แบบจำลองและเครื่องมือเพื่อพัฒนาการออกแบบแนวคิดขั้นสูง และสร้างแผนปฏิบัติการสำหรับเรือหลายประเภทเพื่อใช้โซลูชันปีก
ดร. Anna Karamigkou เจ้าหน้าที่โครงการจากคณะกรรมาธิการยุโรปกล่าวว่า "โครงการ Orcelle เป็นก้าวสำคัญสำหรับการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ไปสู่การใช้ลมเป็นพลังงานขับเคลื่อนหลัก ด้วยเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเรือจำนวนมาก และความสามารถในการลดการปล่อยมลพิษจากการขนส่งเป็นอย่างมาก เราเห็นว่ามีประโยชน์ทางสังคมมากมายหลายอย่างที่สหภาพยุโรปจะได้รับจากโครงการนี้”
Staffan Johannesson หัวหน้าฝ่ายความยั่งยืนในองค์กรซัพพลายเชนของเรากล่าวว่า ศักยภาพที่ได้จากโครงการเช่นนี้ ซึ่งเราร่วมมือกับบริษัทอื่นๆ ในการคิดค้นโซลูชันใหม่ๆ เป็นตัวอย่างที่ดีของความต้องการของเราที่จะหาวิธีการที่หลากหลายในการลดการปล่อยคาร์บอนในทุกกิจกรรมของบริษัท
“เรากำลังสำรวจโอกาสด้านความยั่งยืนอย่างต่อเนื่องในทุกด้านของห่วงโซ่อุปทานของเรา และทั่วทั้งธุรกิจโดยรวมของเรา รายการความคิดริเริ่มของเราเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในระหว่างที่เราทำงานเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายในการเป็นบริษัทที่เป็นกลางต่อสภาพอากาศให้ได้ภายในปี พ.ศ.2583”
ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวคิด Oceanbird https://www.theoceanbird.com/the-oceanbird-concept/