เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เราได้ประกาศการสิ้นสุดของรถยนต์ Volvo ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลภายในต้นปี 2024 แต่เราได้ทำมากกว่านั้นในนิวยอร์ก เมื่อผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืนของเราได้ไปแบ่งปันแผนด้านสภาพภูมิอากาศที่งาน Climate Week NYC
Anders Kärrberg หัวหน้าฝ่ายความยั่งยืนระดับโลกของเรา (กลาง)
Climate Week NYC เป็นงานที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก และเป็นหนึ่งในงานที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งมีชื่อเสียงและทรงอิทธิพลมากที่สุด งานนี้มีผู้เข้าร่วมหลายพันคนจากบริษัท องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) สถาบันพหุภาคี และรัฐบาล ซึ่งทุกฝ่ายต่างมีความทะเยอทะยานที่จะพยายามค้นหาวิธีแก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรม เพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านการทำงานร่วมกัน
ถึงแม้เราจะมีแผนด้านสภาพอากาศที่ทะเยอทะยานที่สุดในบรรดาผู้ผลิตรถยนต์ที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน และวางแผนที่จะจำหน่ายเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบภายในปี พ.ศ.2573 เราก็ไม่สามารถที่จะต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้เพียงลำพัง แต่จำเป็นต้องมีการประสานงานและการทำงานร่วมกับผู้อื่น และงาน Climate Week NYC ก็เป็นเวทีหนึ่งสำหรับการพูดคุยดังกล่าว โดยงานในปีนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องมาจากกำลังจะมีการประชุมสุดยอดด้านสภาพภูมิอากาศโลกหรืองาน COP28 ที่ดูไบ และรายงานสภาพภูมิอากาศล่าสุดก็เน้นย้ำถึงความเร่งด่วนของภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศและความจำเป็นในการดำเนินการ
เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการพบปะกันในนิวยอร์ก เราจึงได้มอบหมายให้ผู้ที่มีความคิดด้านความยั่งยืนที่ดีที่สุดของเรา 2 คนไปที่งานนี้ นั่นก็คือ Anders Kärrberg หัวหน้าฝ่ายความยั่งยืนระดับโลก และ Stuart Templar หัวหน้าฝ่าย Stakeholder Engagement ซึ่งทั้งสองได้ใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์ในนิวยอร์กไปกับการพูดคุยกับผู้คนที่มีความคิดคล้ายคลึงกันจำนวนมาก ทั้งสองต่างเข้าร่วมและพูดคุยในกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นสำหรับอุตสาหกรรมบางอย่างหรือบางพื้นที่ซึ่งจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เพื่อทำตามความทะเยอทะยานระดับโลกในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์
“การตัดสินใจของเราในการเลิกใช้ดีเซลได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ซึ่งรวมถึงตัวแทนจากองค์กรพัฒนาเอกชนซึ่งมีอิทธิพลในด้านสภาพภูมิอากาศด้วย” Stuart กล่าว “นอกเหนือจากกลยุทธ์อันกล้าหาญในการใช้พลังงานไฟฟ้าของเราแล้ว เรายังได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำที่แท้จริง และเป็นตัวอย่างให้ผู้ผลิตรายอื่นปฏิบัติตาม”
“สิ่งที่ทำให้ผมประทับใจมากคือการที่ Volvo Cars ได้รับความเคารพอย่างสูงในชุมชน NGO” Anders กล่าวเมื่อได้รับคำขอให้ทบทวนถึงช่วงเวลาในสัปดาห์นั้น “ผู้คนมักกล่าวถึงเราในเรื่องการใช้พลังงานไฟฟ้า 100 เปอร์เซ็นต์ภายในปี พ.ศ.2573 การทำงานของเรากับโครงการ Steel Zero และความมุ่งมั่นอื่นๆ ของเรา”
จากแผนอันทะเยอทะยานสู่การดำเนินงานที่มีความหมาย
เราเริ่มต้นสัปดาห์ด้วยแผนการที่จะหยุดการผลิตรถยนต์ Volvo ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลทั้งหมด ภายในต้นปี 2024 โดยการประกาศในงานของกลุ่มพันธมิตร Accelerating to Zero ถือเป็นข้อความที่ชัดเจนถึงความตั้งใจของเราที่จะมุ่งเน้นสู่การใช้พลังงานไฟฟ้า นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับรายงานการประเมินสถานการณ์การดำเนินงานของสหประชาชาติฉบับล่าสุด ซึ่งระบุว่าการเปลี่ยนมาใช้พลังงานไฟฟ้าและเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
Stuart Templar หัวหน้าฝ่าย Stakeholder Engagement ระดับโลกของเรา
“การตัดสินใจของเราในการเลิกใช้ดีเซลได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ซึ่งรวมถึงตัวแทนจากองค์กรพัฒนาเอกชนซึ่งมีอิทธิพลในด้านสภาพภูมิอากาศด้วย” Stuart กล่าว “นอกเหนือจากกลยุทธ์อันกล้าหาญในการใช้พลังงานไฟฟ้าของเราแล้ว เรายังได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำที่แท้จริง และเป็นตัวอย่างให้ผู้ผลิตรายอื่นปฏิบัติตาม”ถัดจากนั้น Stuart ได้พบกับเพื่อนๆ ของเราที่งาน Ocean Race และ[กล่าวถึงงาน Ocean Summit ของพวกเขา] (https://media.un.org/en/asset/k10/k102yji5d4) (Stuart ปรากฏตัวในช่วงเวลา 1:45.00 น.) ที่สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเพื่อประกาศสนับสนุนการระงับการทำเหมืองในทะเลลึกชั่วคราว ถึงแม้ก้นทะเลจะมีแร่ธาตุมากมายที่ใช้ในแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า แต่เราเชื่อว่าการทำเหมืองในทะเลลึกไม่ควรเกิดขึ้น จนกว่าจะรู้แน่ชัดว่าจะไม่ทำลายระบบนิเวศที่สำคัญในทะเลและมหาสมุทรของเรา
“การพูดที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติถือเป็นไฮไลต์ของผม เป็นช่วงเวลาที่น่าภาคภูมิใจมาก” Stuart พูดพร้อมกับหัวเราะ “ก่อนจะมาร่วมงานกับ Volvo Cars ผมทำงานด้านการทูตมาถึง 16 ปี แต่ก็ไม่เคยได้รับโอกาสแบบนี้เลย และก็เป็นเรื่องที่ยอดเยี่ยมมากที่ได้เห็นปฏิกิริยาจากผู้ร่วมประชุมเมื่อผมประกาศสนับสนุนการระงับการทำเหมืองในทะเลลึกชั่วคราว ทำให้เกิดความชื่นชมที่แท้จริงต่อบริษัทของเราขึ้นในห้องประชุมนั้น จนผู้เข้าร่วมบางคนบอกกับผมหลังจากนั้นว่า รถคันต่อไปของพวกเขาจะเป็น Volvo”
ผู้นำการสนับสนุนด้านสภาพภูมิอากาศ
การอภิปรายแบบกลุ่มที่จัดโดย Climate Group มุ่งเน้นไปที่ความเป็นไปได้ในการผลิตเหล็กกล้าที่ปราศจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ Anders ก็ได้แบ่งปันประสบการณ์ของเราในการทำงานร่วมกับ SSAB ผู้ผลิตเหล็กในสวีเดน เพื่อศึกษาการผลิตเหล็กคุณภาพสูงที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกือบเป็นศูนย์สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องที่ยอดเยี่ยมมากที่ได้เห็นแผ่นหล่อดอกยางของ Volvo ที่ทำจากเหล็กซึ่งปราศจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่ผลิตโดย SSAB ในนิทรรศการการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของ IKEA ที่จัดขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์
ไม่ใช่แค่เราเท่านั้นที่บอกว่าตัวเองเป็นผู้นำขององค์กรซึ่งสนับสนุนงานด้านสภาพภูมิอากาศ แต่ InfluenceMap ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่คอยติดตามสิ่งเหล่านี้ ก็เน้นย้ำว่าเราเป็น 'ผู้นำแห่งอนาคต' ในด้านนี้ โดย Stuart ได้เข้าร่วมงานของ InfluenceMap เพื่ออธิบายการตัดสินใจของเราในการออกจากสมาคมผู้ผลิตรถยนต์แห่งยุโรปหรือ ACEA เนื่องจากจุดยืนของสมาคมในการยุติการใช้เครื่องยนต์สันดาป และจากการที่แผนงานการใช้พลังงานไฟฟ้าของเราภายในปี พ.ศ.2573 ได้แสดงให้เห็นว่าการมีแนวทางอื่นที่ทะเยอทะยานยิ่งขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้
สืบเนื่องจากเรื่องนั้น Stuart ยังได้เข้าร่วมในการอภิปรายโต๊ะกลมที่งานเปิดตัวแคมเปญ Fossil to Clean ซึ่งจัดโดย We Mean Business Coalition โดย Volvo Cars เป็นผู้สนับสนุนอย่างเปิดเผยทั้งต่อกลุ่มพันธมิตรและแคมเปญใหม่นี้ ซึ่งเรียกร้องให้รัฐบาลต่างๆ ยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล รวมถึงให้บริษัทต่างๆ ปฏิบัติตามด้วยเช่นกัน และที่เป็นกำลังใจสำคัญก็คือ การที่ซีอีโอของกลุ่มพันธมิตรได้กล่าวว่า การดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศของเราเป็นแรงบันดาลใจให้กับแคมเปญนี้
นอกเหนือจากงานที่จัดขึ้นโดยเฉพาะเหล่านี้แล้ว Stuart และ Anders ยังได้หารือแบบทวิภาคีกับตัวแทนอาวุโสจากบริษัทและองค์กรอื่นๆ อีกด้วย โดยการหารือที่สำคัญก็อย่างเช่น การประชุมสุดยอด 'Action Speaks' ที่สำนักงานของ IKEA ในนิวยอร์ก และการประชุม Community of Chief Sustainability Officers ที่จัดขึ้นโดย World Economic Forum ซึ่งการเจรจาเหล่านี้และอื่นๆ ช่วยให้ Anders ได้พบกับเพื่อนร่วมอุดมการณ์ของเขาที่บริษัทอื่นๆ และเปรียบเทียบข้อมูลกันในด้านการดำเนินการและนโยบายด้านสภาพภูมิอากาศที่มีประสิทธิภาพ
“มีบริษัทสวีเดนอีกราว 15 แห่งซึ่งตั้งอยู่ในนิวยอร์ก โดยมีเจ้าหน้าที่ด้านความยั่งยืนเป็นหลัก” Anders เล่า “พวกเขาต่างก็เผชิญกับความท้าทายมากมายเช่นเดียวกับเรา ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ดีมากที่ได้พูดคุยกับกลุ่มคนที่มีส่วนร่วมและมีความสามารถเพื่อแบ่งปันและเรียนรู้จากกันและกัน โดยรวมแล้ว ผมเชื่อว่างาน Climate Week NYC มอบโอกาสสำคัญให้กับเราในการเรียนรู้ การพัฒนาขีดความสามารถ การสนับสนุน และการสร้างเครือข่าย”
“งาน Climate Week NYC เป็นโอกาสอันดีที่ทำให้ได้พบกับผู้ติดต่อที่อาจเป็นประโยชน์ในหลายๆ ด้าน” Stuart กล่าวเสริม “นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ซึ่งคุณอาจได้บังเอิญพบปะกับบางคน ซึ่งของผมก็คือดัชเชสแห่งยอร์ก แต่เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ผมคิดว่าสิ่งสำคัญก็คือเราต้องแสดงตัวตนและส่งเสียงของเราออกมา ซึ่งจะช่วยเพิ่มชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของเราในฐานะบริษัทที่ขับเคลื่อนด้วยวัตถุประสงค์อย่างแท้จริงในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักๆ ที่มีอิทธิพล และที่สำคัญก็คือการได้เรียนรู้จากผู้อื่น”