การใช้ชุดซ่อมยางรั่ว
ภาพรวม
การเชื่อมต่อ
คำเตือน
- ขวดสารซีลประกอบด้วยยางลาเท็กซ์ธรรมชาติ สารนี้จะเป็นอันตรายถ้ากลืนกินเข้าไป
- สารที่บรรจุไว้ในขวดนี้อาจทำให้ผิวหนังเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้หรืออาจเป็นอันตรายต่อทางเดินหายใจ ผิวหนัง ระบบประสาทส่วนกลาง และดวงตา
- เก็บให้พ้นมือเด็ก
- อาจเป็นอันตรายหากกลืนกินเข้าไป
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผิวหนังเป็นเวลานานหรือซ้ำหลายครั้ง หากสารซีลเปื้อนเสื้อผ้าของท่าน ให้ขจัดออก
- ล้างมือให้สะอาดหมดจดหลังจากการใช้งานหรือหยิบจับ
- ผิวหนัง: ล้างผิวหนังตรงบริเวณที่มีการสัมผัส โดยใช้สบู่และน้ำ หากเกิดอาการผิดปกติ ให้ไปพบแพทย์
- ดวงตา: ล้างด้วยน้ำปริมาณมากเป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที โดยถ่างหนังตาบนและล่างเป็นครั้งคราว หากเกิดอาการผิดปกติ ให้ไปพบแพทย์
- การสูดดม: ย้ายผู้ที่สัมผัสสารไปยังบริเวณที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ หากอาการระคายเคืองไม่ทุเลาลง ให้ไปพบแพทย์
- การกลืนกิน: ให้ไปพบแพทย์
- การกำจัดทิ้ง: กำจัดทิ้งสารนี้รวมทั้งภาชนะบรรจุในสถานที่เก็บรวบรวมของเสียอันตรายหรือของเสียพิเศษ ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อมของรัฐและในท้องถิ่นเสมอ
คำเตือน
บันทึก
การเตรียม
ถ้าต้องซีลยางในบริเวณที่มีการจราจร ให้วางป้ายเตือนรูปสามเหลี่ยมบนถนน และเปิดสัญญาณไฟเตือนฉุกเฉิน
ลอกรูปลอกสำหรับความเร็วสูงสุดที่อนุญาตซึ่งติดอยู่ที่ด้านหน้าของคอมเพรสเซอร์ออก ติดไว้ที่ตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้บนกระจกหน้าเพื่อเป็นการเตือนเกี่ยวกับขีดจำกัดความเร็ว หลังจากใช้ชุดอุปกรณ์ซ่อมยางฉุกเฉิน ท่านไม่ควรขับรถเร็วเกินกว่า 80 กม./ชม. (50 ไมล์ต่อชั่วโมง)
นอกจากนั้น ให้นำรูปลอกคำเตือนออกมาแล้วติดไว้ที่ด้านข้างของล้ออย่างแน่นหนา เพื่อไม่ให้รูปลอกหลุดออก
ยึดขวดน้ำยาซีลลงในคอมเพรสเซอร์ จากนั้นให้หมุนตามเข็มนาฬิกาเป็นมุม 90 องศา
ขวดจะมีวาล์วกันกลับติดตั้งอยู่หนึ่งตัว ซึ่งหมายความว่าสารจะไม่สามารถไหลออกมาได้ถ้าไม่ได้ติดตั้งอยู่ในคอมเพรสเซอร์
คลายเกลียวฝาปิดกันฝุ่นของยาง และขันข้อต่อวาล์วของท่ออากาศเข้ากับด้านล่างของเกลียววาล์วเติมลมของยาง
เริ่มต้นการซ่อมยางรั่ว
ต่อสายไฟเข้ากับปลั๊กไฟ 12 โวลต์ที่อยู่ใกล้ที่สุด แล้วสตาร์ตรถ
บันทึก
คำเตือน
เปิดเครื่องอัดอากาศโดยการเลื่อนสวิตช์ไปที่ตำแหน่ง I (เปิดทำงาน)
เมื่อคอมเพรสเซอร์เริ่มทำงาน ความดันอาจเพิ่มขึ้นจนถึง 7 บาร์ (102 PSI) แต่ความดันจะลดลงหลังจากผ่านไปประมาณ 30 วินาที
คำเตือน
สำคัญ
ปิดเครื่องอัดอากาศเพื่อตรวจสอบความดันบนเกจวัดความดัน ความดันต่ำสุดคือ 1.8 บาร์ (26 psi) และความดันสูงสุดคือ 2.5 บาร์ (36 psi) ปล่อยอากาศออกโดยใช้วาล์วลดความดันหากความดันลมยางสูงเกิน
- ถอดท่ออากาศออกจากวาล์วเติมลมยาง
- ถอดท่ออากาศออกจากขวด
- ถอดขวดออกจากคอมเพรสเซอร์
- ติดตั้งท่ออากาศเข้ากับคอมเพรสเซอร์โดยตรง
- ติดตั้งท่ออากาศเข้ากับวาล์วเติมลมยางอีกครั้ง
- ปล่อยลมออกโดยการกดวาล์วลดความดัน
คำเตือน
บันทึก
- หลังจากเติมลมยางแล้ว ให้ติดตั้งจุกปิดกันฝุ่นกลับเข้าไปทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้จุกเติมลมชำรุดเสียหายเนื่องจากก้อนหิน, สิ่งสกปรก และอื่นๆ
- ใช้เฉพาะจุกปิดกันฝุ่นพลาสติกเท่านั้น จุกปิดกันฝุ่นแบบโลหะอาจเกิดสนิมและทำให้หมุนคลายออกได้ยาก
ทำความสะอาดท่ออากาศก่อนที่จะนำไปเก็บ และใช้ความระมัดระวังไม่ให้สารซีลรั่วไหล
คำเตือน
การติดตามผล
ต่อท่อลมบนวาล์วเติมลมยางแล้วขันข้อต่อวาล์วเข้าที่ด้านล่างของเกลียวของวาล์วเติมลมยาง เครื่องอัดอากาศต้องปิดอยู่
อ่านความดันลมยางบนเกจวัดความดัน
- หากความดันต่ำกว่า 1.3 บาร์ (19 psi) แสดงว่าประสิทธิภาพการซีลยางไม่ดีพอ ไม่ควรจะขับรถต่อไปอีก โทรศัพท์ติดต่อศูนย์ให้ความช่วยเหลือในกรณีรถเสียเพื่อกู้รถ
- ถ้าความดันลมยางสูงกว่า 1.3 บาร์ (19 psi ท่านควรเติมลมยางให้ได้ความดันตามที่แสดงไว้บนป้ายข้อมูลความดันลมยางที่อยู่บนเสาประตูด้านคนขับ (1 บาร์ = 100 กิโลปาสคาล) = 14.5 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) ปล่อยอากาศออกโดยใช้วาล์วลดความดันหากความดันลมยางสูงเกิน
คำเตือน
วอลโว่ขอแนะนำให้ขับรถไปยังศูนย์บริการของวอลโว่ที่ได้รับการแต่งตั้งที่ใกล้ที่สุดเพื่อเปลี่ยน/ซ่อมยางที่เสียหาย แจ้งให้ศูนย์บริการทราบว่ายางมีสารซีลอยู่
จะต้องเปลี่ยนขวดสารซีลและท่อหลังจากที่ใช้งานแล้ว วอลโว่ขอแนะนำให้ทำการเปลี่ยนอุปกรณ์เหล่านี้โดยศูนย์บริการวอลโว่ที่ได้รับอนุญาต