ความดันลมยางจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ นอกจากนี้ ความดันลมยางยังเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิอากาศภายนอกอีกด้วย นอกจากนี้ การขับรถด้วยยางที่มีความดันลมยางต่ำเกินอาจทำให้ยางร้อนจัดและชำรุดเสียหายได้ ความดันลมยางมีผลต่อความสะดวกสบายในการเดินทาง, เสียงจากถนน และลักษณะการขับขี่
ตรวจสอบความดันลมยางทุกเดือน ใช้ความดันลมยางตามที่แนะนำให้ใช้สำหรับยางแบบเย็น เพื่อรักษาสภาพยางให้ดีที่สุด ความดันลมยางที่ต่ำเกินไปหรือสูงเกินไปอาจทำให้ยางมีการสึกหรอที่ไม่สม่ำเสมอ
คำเตือน
- ความดันลมยางต่ำเกินไปเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดที่ทำให้ยางผิดปกติ ลักษณะเช่นนี้อาจส่งผลให้ยางมีรอยแตกร้าวอย่างมาก, ดอกยางแยกตัวออกจากกัน หรือ "ยางระเบิด" ซึ่งทำให้การควบคุมรถลดประสิทธิภาพลง และส่งผลให้ความเสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บสูงขึ้น
- ยางที่มีแรงดันต่ำเกินไปจะทำให้รถมีความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกน้อยลง
ยางในสภาพเย็น
ต้องตรวจสอบความดันลมยางเมื่อยางอยู่ในสภาพเย็น ถือว่ายางอยู่ในสภาพเย็นเมื่อมีอุณหภูมิเท่ากับอากาศล้อมรอบ โดยปกติแล้ว ยางจะมีอุณหภูมินี้เมื่อจอดรถไว้เป็นเวลาอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
หลังจากที่ขับรถได้ประมาณ 1.6 กม. (1 ไมล์) แล้วจะถือว่ายางเหล่านี้อยู่ในสภาพอุ่น ถ้าท่านจำเป็นต้องขับรถไกลกว่านี้เพื่อเติมลมยาง ขั้นแรก ให้ตรวจสอบและบันทึกความดันลมยาง จากนั้นให้เติมลมยางจนได้ความดันลมยางที่เหมาะสมเมื่อท่านไปถึงปั๊มเติมลม
เมื่ออุณหภูมิภายนอกเปลี่ยนแปลง ความดันลมยางก็จะเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน อุณหภูมิที่ลดลง 10 องศา จะทำให้ความดันลมยางลดลง 7 kPa (1 psi) ให้ตรวจสอบความดันลมยางเป็นประจำ และปรับให้มีแรงดันที่ถูกต้อง ซึ่งระบุไว้ให้ทราบบนป้ายข้อมูลยางรถยนต์หรือป้ายรับรอง
หากท่านตรวจสอบความดันลมยางเมื่อยางอยู่ในสภาพอุ่น ท่านต้องไม่ปล่อยลมออกเป็นอันขาด ยางอยู่ในสภาพอุ่นเนื่องจากการขับขี่และเป็นเรื่องปกติที่แรงดันจะเพิ่มขึ้นเกินกว่าแรงดันที่แนะนำไว้สำหรับยางในสภาพเย็น ยางในสภาพอุ่นที่มีความดันลมยางเท่ากับหรือต่ำกว่าแรงดันที่แนะนำไว้สำหรับยางในสภาพเย็นอาจมีแรงดันที่ต่ำมากเกินไป