ข้อจำกัดสำหรับระบบช่วยเมื่อมีความเสี่ยงต่อการชน
ข้อจำกัดของระบบช่วยเบรก
อุปกรณ์พิเศษ
วัตถุที่ห้อยอยู่ที่ระดับต่ำ เช่น ธงสำหรับวัตถุที่ยื่นออกมา หรืออุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น ไฟเสริมและคานกันชนเสริมที่สูงกว่าฝากระโปรงหน้าของรถจะจำกัดการทำงานของฟังก์ชัน เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้อาจบังกล้องหรือชุดเรดาร์ได้
การลื่นไถล
สำหรับพื้นผิวถนนที่ลื่น ระยะเบรกจะไกลขึ้นกว่าปกติ ซึ่งอาจลดความสามารถของฟังก์ชันในการหลีกเลี่ยงการชนให้น้อยได้ ในบางสถานการณ์ ระบบเบรกป้องกันล้อล็อคและระบบควบคุมเสถียรภาพ ESC2 จะให้แรงเบรกที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้ในขณะที่สามารถรักษาเสถียรภาพของรถไว้ได้
ความเร็วต่ำ
ฟังก์ชันจะไม่ทำงานที่ความเร็วต่ำมาก นั่นคือ ต่ำกว่า 4 กม./ชม. (3 ไมล์ต่อชั่วโมง) ซึ่งเป็นสาเหตุให้ระบบไม่เข้าแทรกการทำงานในสถานการณ์ที่รถของท่านเข้าใกล้รถคันหน้าอย่างช้าๆ เช่น เมื่อจอดรถ เป็นต้น
คนขับที่ตื่นตัวอยู่เสมอ
คำสั่งของคนขับจะมีความสำคัญสูงสุดเสมอ ฟังก์ชันจะไม่เข้าแทรกการทำงานในสถานการณ์ที่คนขับทำการบังคับเลี้ยวหรือเร่งความเร็วในลักษณะที่เป็นการตั้งใจทำ ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงการชนได้ก็ตาม ลักษณะการขับขี่ที่ตื่นตัวอยู่เสมอจะสามารถหน่วงเวลาการเตือนการชนและการเข้าแทรกการทำงาน เพื่อลดการเตือนที่ไม่จำเป็นให้เหลือน้อยที่สุดได้
ข้อจำกัดของระบบช่วยบังคับเลี้ยว
- รถขนาดเล็ก เช่น รถจักรยานยนต์
- ถ้ารถส่วนใหญ่เคลื่อนตัวไปยังช่องทางเดินรถถัดไป
- บนถนน/ในช่องทางเดินรถที่เส้นแบ่งช่องทางเดินรถไม่ชัดเจนหรือไม่มีเส้นแบ่งช่องทางเดินรถ
- เมื่อความเร็วอยู่นอกช่วง 60-140 กม./ชม. (37-87 ไมล์ต่อชั่วโมง)
- เนื่องจากชุดเซอร์โวการบังคับเลี้ยวสำหรับแรงต้านพวงมาลัยตามความเร็วจะทำงานที่กำลังลดลง เช่น เมื่อระบายความร้อนเนื่องจากความร้อนสูงเกินไป
- การซ่อมถนน
- สภาพถนนในฤดูหนาว
- ถนนแคบ
- พื้นผิวถนนที่ไม่ดี
- ลักษณะการขับขี่ที่ "ฉับไว" อย่างมาก
- สภาพอากาศไม่ดีและทัศนวิสัยที่แย่ลง
ในสถานการณ์ที่ยากลำบากเหล่านี้ ฟังก์ชันอาจให้การช่วยเหลือคนขับอย่างถูกต้องได้ยาก
คำเตือนที่สำคัญ
คำเตือน
- ห้ามรอให้สัญญาณเตือนทำงานหรือแทรกการทำงาน ให้ทำการเบรกเมื่อจำเป็น
คำเตือน
- การเบรกอัตโนมัติสามารถป้องกันการชนหรือลดความเร็วในการชนลงได้ แต่เพื่อให้แน่ใจได้ถึงประสิทธิภาพในการเบรกสูงสุด คนขับควรเหยียบแป้นเบรกด้วยเสมอ ถึงแม้ว่ารถจะทำการเบรกโดยอัตโนมัติก็ตาม
- การเตือนและการช่วยบังคับเลี้ยวจะทำงานเมื่อมีความเสี่ยงต่อการชนสูงเท่านั้น ดังนั้น ห้ามไม่ให้ท่านรอให้มีการเตือนการชนหรือรอให้ฟังก์ชันเข้าแทรกการทำงาน
- ฟังก์ชันนี้จะไม่สั่งงานการเข้าแทรกการทำงานด้วยการเบรกอัตโนมัติในกรณีที่มีการเร่งความเร็วอย่างแรง
คำเตือน
- การเตือนและการแทรกการทำงานของเบรกอาจเกิดขึ้นล่าช้าหรือไม่เกิดขึ้นเลย ถ้าสภาพการจราจรหรือปัจจัยภายนอกต่างๆ ทำให้ชุดกล้องและเรดาร์ไม่สามารถตรวจจับคนเดินเท้า, คนขับขี่รถจักรยาน, สัตว์ขนาดใหญ่ หรือรถคันหน้าได้อย่างถูกต้อง
- เพื่อให้สามารถตรวจจับรถคันอื่นได้ในเวลากลางคืน รถเหล่านั้นจะต้องเปิดไฟหน้าและไฟท้ายไว้ และไฟจะต้องสว่างอย่างชัดเจน
- การเตือนสำหรับรถที่อยู่กับที่และรถที่เคลื่อนที่ช้าๆ รวมถึงสัตว์ขนาดใหญ่ อาจหยุดทำงานเนื่องจากความมืดหรือสภาพทัศนวิสัยที่ไม่ดี
- การเตือนและการเข้าแทรกการทำงานของเบรกสำหรับคนเดินเท้าและผู้ขับขี่รถจักรยานจะปิดการทำงานเมื่อความเร็วรถสูงกว่า 80 กม./ชม. (50 ไมล์ต่อชั่วโมง)
- ระบบสามารถให้การเตือนและเข้าแทรกการทำงานด้วยการเบรกได้อย่างมีประสิทธิภาพตราบใดที่ความเร็วสัมพัทธ์ต่ำกว่า 50 กม./ชม. (30 ไมล์ต่อชั่วโมง)
- สำหรับรถที่จอดอยู่กับที่หรือรถที่เคลื่อนที่ช้า การเตือนและการเข้าแทรกการทำงานด้วยการเบรกจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ความเร็วรถไม่เกิน 70 กม./ชม. (43 ไมล์ต่อชั่วโมง)
- การลดความเร็วสำหรับสัตว์ขนาดใหญ่จะน้อยกว่า 15 กม./ชม. (9 ไมล์ต่อชั่วโมง) และสามารถทำงานถึงระดับนี้ได้ที่ความเร็วสูงกว่า 70 กม./ชม. (43 ไมล์ต่อชั่วโมง) การเตือนและการเข้าแทรกการทำงานด้วยการเบรกสำหรับสัตว์ขนาดใหญ่จะมีประสิทธิภาพน้อยลงที่ความเร็วต่ำกว่านี้
- ห้ามวาง, ติด หรือยึดสิ่งใดที่ด้านนอกหรือด้านในของกระจกหน้าที่บริเวณด้านหน้าและรอบๆ ชุดกล้อง — การทำเช่นนี้อาจรบกวนการทำงานของฟังก์ชันที่ใช้กล้องได้
- วัตถุ, หิมะ, น้ำแข็ง หรือสิ่งสกปรกในบริเวณชุดกล้องและเรดาร์ อาจทำให้ชุดอุปกรณ์ลดประสิทธิภาพการทำงานลง, ไม่สามารถทำงานได้เลย หรือให้การตอบสนองการทำงานที่ไม่ถูกต้อง