กลยุทธ์ความยั่งยืนของเราผสานเข้ากับกลยุทธ์องค์กรอย่างสมบูรณ์แบบ และได้รับการตรวจสอบอยู่เสมอจากการวิเคราะห์ภายในเป็นประจำ รวมถึงความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศและธรรมชาติ
เรามีโครงสร้างการกำกับดูแลกิจการที่จะติดตามความคืบหน้าของกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน ความทะเยอทะยาน และโครงการริเริ่มของเรา
เราจัดระเบียบโครงสร้างอย่างไร
โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการด้านความยั่งยืนของเราจัดระเบียบโดยอิงจากคำแนะนำของคณะทำงานด้านการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ (TCFD) ซึ่งหมายความว่าเราดำเนินการทบทวนเกี่ยวกับความยั่งยืนเป็นประจำในแต่ละระดับการจัดการรวมถึงคณะกรรมการบริหาร ทีมความยั่งยืนระดับโลกทำหน้าที่ดูแลการพัฒนาและความคืบหน้าของกลยุทธ์ความยั่งยืนทั่วทั้งบริษัท
คณะกรรมบริหาร (BoD) ของเรากำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์และอนุมัติกลยุทธ์ของเรา รวมถึงเรื่องความยั่งยืนและการติดตามความคืบหน้า ในการประชุม BOD ได้มีการหารือเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศของเรารวมทั้งความเสี่ยงและโอกาสอยู่เป็นประจำ
ทีมผู้บริหารระดับสูงมีหน้าที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลกิจการโดยรวม การปฏิบัติการ และการดำเนินการตามกลยุทธ์ความยั่งยืน และติดตามความคืบหน้าอย่างสม่ำเสมอผ่าน KPI ต่างๆ โดยมีการทบทวนแผนปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศพร้อมความเสี่ยงและโอกาสในทุกไตรมาส
ทีมความยั่งยืนระดับโลกเป็นศูนย์กลางที่รับผิดชอบในด้านการกำกับดูแลและการประสานงานด้านความยั่งยืนในแต่ละวัน โดยมีหน้าที่พัฒนาและปรับแต่งกลยุทธ์ความยั่งยืน เป็นผู้นำและสนับสนุนการริเริ่มเชิงกลยุทธ์ และติดตามความคืบหน้าของ KPI ของเรา นอกจากนี้ยังมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลทางธุรกิจเกี่ยวกับความยั่งยืนอีกด้วย
คณะกรรมการ GFC ทบทวนและตรวจสอบการเลือกโครงการสีเขียวที่เข้าเกณฑ์ และทบทวนรายงานอนุกรมวิธานของสหภาพยุโรป.
ทีมฝ่ายบริหารจัดการองค์กรมีหน้าที่รับผิดชอบในการสร้างความมั่นใจว่า ความยั่งยืนจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในงานประจำวันของทุกคน พวกเขาเป็นตัวแทนความคิดสำหรับสมาชิก GST และสามารถขอทรัพยากรและเงินทุนสำหรับโครงการริเริ่มด้านความยั่งยืนได้
การรายงาน ESG
เราเชื่อในการตรวจสอบประสิทธิภาพด้านความยั่งยืนของเราโดยบุคคลที่สามจากภายนอก การได้รับความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับบุคลากรของเราและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภายนอกว่า กลยุทธ์ความยั่งยืนและความใฝ่ฝันของเรานั้นสนับสนุนเป้าหมายระดับโลก เช่น เป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN SDG) และข้อตกลงปารีส
Volvo Cars ได้คะแนน 72/100 ในการประเมินความยั่งยืนขององค์กร (CSA) ประจําปี 2023 โดยผู้ให้บริการด้านการจัดเรตติ้ง S&P Global ซึ่งเป็นที่รู้จักในด้านการจัดอันดับความยั่งยืนที่เข้มงวดสูง โดย Volvo Cars อยู่ในกลุ่ม 10 เปอร์เซ็นต์แรกของบริษัทยานยนต์ที่มีผลงานดีที่สุดในปีนั้นในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (จากการประเมินประมาณ 9,400 ราย) ช่วงเวลา: 1-100
ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับ S&P GLOBALเราเป็นหนึ่งใน 362 บริษัทเท่านั้นที่อยู่ในรายชื่อ Climate Change A List ของ CDP (จาก 21,000 คะแนน) และได้รับคะแนนสูงสุด จากผล CDP ของเรา เรายังได้รับการยอมรับในฐานะผู้นําการมีส่วนร่วมกับซัพพลายเออร์จากการดําเนินการด้านสภาพภูมิอากาศภายในห่วงโซ่อุปทานของเรา ช่วงเวลา: D- ถึง A
ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับ CDPVolvo Cars ได้รับคะแนน Gold (คะแนน 77/100) สําหรับประสิทธิภาพด้านความยั่งยืนจาก EcoVadis ผู้ให้บริการชั้นนําด้านการประเมินความยั่งยืนขององค์กรสําหรับห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก ซึ่งทําให้ Volvo Cars อยู่ในกลุ่ม 5 เปอร์เซ็นต์แรกของบริษัทที่ได้รับการประเมิน ช่วงเวลา: 0-100
ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ECOVADISVolvo Cars ได้คะแนน 72/100 ในการประเมินความยั่งยืนขององค์กร (CSA) ประจําปี 2023 โดยผู้ให้บริการด้านการจัดเรตติ้ง S&P Global ซึ่งเป็นที่รู้จักในด้านการจัดอันดับความยั่งยืนที่เข้มงวดสูง โดย Volvo Cars อยู่ในกลุ่ม 10 เปอร์เซ็นต์แรกของบริษัทยานยนต์ที่มีผลงานดีที่สุดในปีนั้นในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (จากการประเมินประมาณ 9,400 ราย) ช่วงเวลา: 1-100
ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับ S&P GLOBALเราเป็นหนึ่งใน 362 บริษัทเท่านั้นที่อยู่ในรายชื่อ Climate Change A List ของ CDP (จาก 21,000 คะแนน) และได้รับคะแนนสูงสุด จากผล CDP ของเรา เรายังได้รับการยอมรับในฐานะผู้นําการมีส่วนร่วมกับซัพพลายเออร์จากการดําเนินการด้านสภาพภูมิอากาศภายในห่วงโซ่อุปทานของเรา ช่วงเวลา: D- ถึง A
ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับ CDPVolvo Cars ได้รับคะแนน Gold (คะแนน 77/100) สําหรับประสิทธิภาพด้านความยั่งยืนจาก EcoVadis ผู้ให้บริการชั้นนําด้านการประเมินความยั่งยืนขององค์กรสําหรับห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก ซึ่งทําให้ Volvo Cars อยู่ในกลุ่ม 5 เปอร์เซ็นต์แรกของบริษัทที่ได้รับการประเมิน ช่วงเวลา: 0-100
ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ECOVADISเรามุ่งมั่นที่จะลดผลกระทบของเราที่มีต่อโลก และเรารู้ว่าจะต้องใช้ความพยายามในระดับโลก การร่วมมือกับบริษัท องค์กร และ NGO มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงและประสิทธิภาพของอุตสาหกรรม ตัวอย่างบางส่วน
Volvo Cars เข้าร่วมในโปรแกรม CDP Supply Chain และรวบรวมข้อมูลผ่านแบบสอบถามด้านสภาพภูมิอากาศสำหรับซัพพลายเออร์เชิงกลยุทธ์ชั้นนำของเรา โดยพิจารณาจากผลิตภัณฑ์ที่มีการปล่อยก๊าซจำนวนมาก เรายังเข้าร่วมกับ CDP Climate และ CDP Water อีกด้วย
เพื่อสนับสนุนการปรับปรุงสภาพการทำงานและสภาพความเป็นอยู่ในชุมชนช่างฝีมือและเหมืองแร่ขนาดเล็กอย่างต่อเนื่อง Volvo Cars ร่วมมือกับ Better Mining ซึ่งเป็นโปรแกรมการประเมินและศึกษาผลกระทบที่นำโดย RCS Global Group ในสาธารณรัฐประชาธิปไตคองโกและรวันดา
Volvo Cars เป็นสมาชิกของกลุ่มพันธมิตรที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่อุทิศตนเพื่อยกระดับความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรตลอดทั่วทั้งห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก
Volvo Cars เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งขององค์กร Drive Sustainability ซึ่งเป็นเครือข่ายของบริษัทที่ทำงานเพื่อพัฒนาความยั่งยืนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในทุกด้านของอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นการเฉพาะ
Volvo Cars เป็นสมาชิกของมูลนิธิ Ellen Macarthur หรือ EMF ซึ่งเป็นเครือข่ายชั้นนำระดับโลกของธุรกิจ นักประดิษฐ์ มหาวิทยาลัย และผู้นำทางความคิด ที่ร่วมกันค้นหาแรงบันดาลใจสำหรับแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน และเรายังต่อยอดด้วยการใช้เครื่องมือ Circulytics ของ EMF อีกด้วย
Volvo Cars ภูมิใจที่ได้เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง UN Global Compact หรือข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติมาตั้งแต่ปี 2000 และปฏิบัติตามหลักการ 10 ประการ สามารถดูรายงานความก้าวหน้าของเราได้ในเว็บไซต์ของ UNGC
สถานการณ์ความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน
จากมุมมองเศรษฐกิจโลก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศถือเป็นความเสี่ยงสูงสุด ทั้งในแง่ของผลกระทบและความเป็นไปได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อบริษัทและอุตสาหกรรมของเราในหลายๆ ด้าน
เราจึงเริ่มวิเคราะห์สถานการณ์ภาวะโลกร้อนที่แตกต่างกันตามคำแนะนำของ TCFD เพื่อตรวจสอบความยืดหยุ่นของกลยุทธ์ของเรา เราใช้สถานการณ์ตามนโยบายที่ประกาศไว้ของ IEA (4DS) และสถานการณ์การพัฒนาอย่างยั่งยืน (<2DS) เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงในช่วงเปลี่ยนผ่านและสถานการณ์ 8.5 ของ IPCC สำหรับการวิเคราะห์ความเสี่ยงทางกายภาพ ด้วยการวิเคราะห์ผลกระทบและความเป็นไปได้ในสถานการณ์ต่างๆ เหล่านี้ เราจึงไม่เพียงระบุได้ถึงความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อบริษัทของเราเท่านั้น แต่ยังรวมถึงโอกาสอีกด้วย
เราเป็นผู้สนับสนุน TCFD และรายงานตามการเปิดเผยที่แนะนำ 11 ประการของ TCFD ในรายงานประจำปีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2563